1.5 รูปแบบทางธุรกิจ

      การประกอบธุรกิจการค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบ ซึ่ง การตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจ  ในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการ เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินลงทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจจะประสบความสำเร็จนำมาซึ่งผลประโยชน์และกำไรสูงสุด

ในการประกอบธุรกิจผู้ประกอบธุรกิจต้องตัดสินใจเลือกรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตนเองว่าจะดำเนินงานในรูปแบบองค์การธุรกิจประเภทใด ซึ่งองค์การธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ในประเทศไทย มีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีวิธีดำเนินงาน ผลดีและผลเสียที่แตกต่างกัน จำแนกตามลักษณะเจ้าของธุรกิจได้ 6 รูปแบบ ดังนี้

  1.  กิจการเจ้าของคนเดียว คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว เรียกว่า กิจการเจ้าของคนเดียวในควบคุมการดำเนินงานเองทั้งหมดคนเดียว ตัวอย่างกิจการประเภทนี้ เช่น ร้านค้าปลีก ร้านเสริมสวย การทำไร่ การทำนา

  2.  กิจการห้างหุ้นส่วน  คือ กิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการเรียกว่า กิจการห้างหุ้นส่วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งผลกำไรที่ได้จากการดำเนินงานกิจการ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

        - ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้

        - ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายห้างหุ้นส่วนประเภทนี้ต้องใช้คำว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” ประกอบหน้าชื่อของห้างหุ้นส่วนเสมอ

 3.  กิจการบริษัทจำกัด คือ กิจการประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ แบ่งได้  2 ประเภท  คือ

       - บริษัทเอกชนจำกัด คือ บริษัทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนออกเป็นหุ้นซึ่งแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นทุกคนต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือเท่านั้น และคุณสมบัติของผู้ถือหุ้นไม่เป็นข้อสาระสำคัญ

        -  บริษัทมหาชนจำกัด  คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งด้วยความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ

  4.  กิจการสหกรณ์ คือ ธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคล ที่มีความประสงค์ อย่างเดียวกัน ร่วมกันจัดตั้งลงทุนดำเนินการ และเป็นเจ้าของร่วมกันด้วยความสมัครใจ มีลักษณะ คือเป็นการร่วมลงทุนของบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยไม่จำกัดจำนวนมีการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของบุคคล การจัดตั้งมีการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการสหกรณ์ มี 6 ประเภท ได้แก่

         1)  สหกรณ์เกษตรกร 

         2)  สหกรณ์ประมง 

         3)   สหกรณ์นิคม 

         4)  สหกรณ์ร้านค้า 

         5)  สหกรณ์บริการ 

         6)  สหกรณ์ออมทรัพย์หรือสหกรณ์ธนกิจ

 5.  กิจการแฟรนไชส์ หรือธุรกิจสัมปทาน

    คือ ธุรกิจที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 กลุ่มขึ้นไปหรือมากกว่า ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบต่างกันแต่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันในระบบธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์จะกระจายสินค้าหรือบริการไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ มี 2 ประเภท คือ

     1.  ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทาน เป็นธุรกิจที่ใช้สินค้า และชื่อการค้ารูปแบบผู้ผลิต ผู้จำหน่ายหรือผู้ให้สัมปทานให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทาน หรือตัวแทนจำหน่ายในการจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งของผู้ให้สัมปทาน โดยผู้รับสัมปทานจะได้รับชื่อสินค้า เครื่องหมายการค้าโดยถือเสมือนว่าเป็นผู้จำหน่ายในสายผลิตภัณฑ์เดียวกับผู้ให้สัมปทาน เช่น ร้านสะดวกซื้อ (เซเว่นอีเลฟเว่น) สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นแชมป์ เป็นต้น

     2.  ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้รูปแบบทางธุรกิจ เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ให้สัมปทานให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทานในการขายสินค้าหรือบริการโดยใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ให้สัมปทาน เช่น พิซซ่าฮัท เคเอฟซี เซเว่นอีเลฟเวน เป็นต้น

 6.  กิจการรัฐวิสาหกิจ  คือ องค์กรของรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐบาลมีทุนรวมอยู่ด้วย เกินกว่าร้อยละ 50 มีการบริหารงานอยู่ระหว่างระบบราชการและระบบธุรกิจ จำแนกประเภทได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

           1.  จำแนกตามลักษณะการจัดตั้ง

           2.  จำแนกตามรายได้ที่นำส่งแก่รัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จำแนกประเภทธุรกิจตามกิจกรรมเศรษฐกิจไว้ ดังนี้

      1)  ธุรกิจด้านเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้

      2)  ธุรกิจด้านการประมง

       3)  ธุรกิจด้านการทำเหมืองแร่และเหมืองถ่านหิน

      4)  ธุรกิจด้านการผลิต

     5)  ธุรกิจด้านการไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา

     6)  ธุรกิจด้านการก่อสร้าง

     7)  ธุรกิจด้านการขายส่ง ขายปลีก

     8)  ธุรกิจด้านโรงแรม ภัตตาคาร

     9)  ธุรกิจด้านการขนส่ง คมนาคม

   10) ธุรกิจด้านการเป็นตัวกลางทางการเงิน

   11) ธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์

   12) ธุรกิจด้านการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ

   13) ธุรกิจด้านการศึกษา

   14) ธุรกิจด้านสุขภาพและสังคมสงเคราะห์

 

1.7   โครงสร้างของระบบธุรกิจประกอบด้วย

        ลักษณะโครงสร้างภายนอกของระบบธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงเป็นส่วนสำคัญได้แก่ พนักงานที่ทำงานในหน่วยงาน เป็นต้น จะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ ปัจจัยแวดล้อมหรือส่วนประกอบโดยอ้อม ได้แก่ กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ทัศนคติ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ฯลฯ ลักษณะโครงสร้างภายในระบบธุรกิจ  ได้แก่

       1)  ธุรกิจที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ เช่น ธุรกิจรถยนต์ ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ความแตกต่างด้านภูมิศาสตร์ เช่น ภาคใต้อุดมไปด้วยยางพาราและแร่ดีบุก มีธุรกิจผลิตยางแผ่นและทำเหมืองแร่ ภาคเหนือ มีป่าไม้มากเกิดธุรกิจแปรไม้สำเร็จรูป เป็นต้น

       2)  ธุรกิจที่มีลักษณะขึ้นตรงต่อกัน และความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะอย่าง คือลักษณะของธุรกิจจะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น ธุรกิจผลิตผลไม้กระป๋อง จำเป็นต้องอาศัยวัตถุดิบจากชาวนา ชาวไร่ ที่ผลิตผลไม้สดและต้องอาศัยธุรกิจที่ผลิตภาชนะสำหรับบรรจุผลไม้ซึ่งแต่ละส่วนนั้นมีความชำนาญพิเศษเฉพาะอย่างไม่เหมือนกัน เป็นต้น

        3)  ธุรกิจที่มีลักษณะไม่หยุดนิ่ง เป็นธุรกิจที่จะต้องคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกของวงการธุรกิจ เช่น เทคโนโลยีที่ทันสมัย กฎหมาย เป็นต้น การผลิตสินค้า และบริการ เพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภคจะได้รายได้เข้ามาในองค์กรธุรกิจ นำรายได้นั้นมาจัดสรรให้กับเจ้าของปัจจัยการผลิตต่าง ๆ และอีกส่วนหนึ่งจะนำไปลงทุนเพื่อขยายธุรกิจภายใต้สิ่งแวดล้อมภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอกจึงจะครบวงจรของธุรกิจ ดังวงจรธุรกิจต่อไปนี้

 

1.8.1  สิ่งแวดล้อมภายใน (Internal Environment)

       หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายในธุรกิจ  มีส่วนกระทบต่อการดำเนินงานและสามารถควบคุมได้ ประกอบด้วย

     1   เจ้าของกิจการและผู้ถือหุ้น การประกอบกิจการขนาดเล็กเจ้าของกิจการคือผู้ที่ลงทุนตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ และเป็นผู้ดำเนินธุรกิจ เจ้าของกิจการจึงมีอิทธิพลต่อธุรกิจ เมื่อกิจการได้ขยายใหญ่ขึ้น ความต้องการในการหาทุนเพิ่มขึ้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องหาทุนโดยออกจำหน่ายหุ้น บุคคลที่ซื้อหุ้น เรียกว่า ผู้ถือหุ้น ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล และผู้ถือหุ้นมีอำนาจในการเลือกคณะกรรมการเพื่อบริหารงานดังนั้นผู้ถือหุ้นจึงมีอิทธิพลต่อธุรกิจ

     2   คณะกรรมการบริหาร คือ กลุ่มผู้ถือหุ้นที่ได้รับการคัดเลือกมาจากผู้ถือหุ้นทั้งหมดของธุรกิจที่เป็นบริษัทเพื่อทำหน้าที่บริหารงาน ได้แก่ การวางแผนตัดสินใจและบริหารงาน     ของธุรกิจโดยคณะกรรมการบริหารอาจเป็นพนักงานที่ทำหน้าที่ทำงานเต็มเวลาของธุรกิจเรียกว่ากรรมการบริหารภายใน หรืออาจเป็นคณะกรรมการที่ไม่ใช่เป็นพนักงานเต็มเวลาของธุรกิจแต่ได้รับเลือกเข้ามาเพื่อให้คำปรึกษาเรื่องที่สำคัญ เกี่ยวกับการบริหารงานธุรกิจเรียกว่า กรรมการบริหารภายนอก

     3   พนักงานหรือลูกจ้าง คือ กลุ่มบุคคลที่ผู้บริหารองค์กรได้คัดเลือกมาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งการปฏิบัติจะมีผลกระทบ ต่อลูกค้าของธุรกิจโดยตรง ถ้าการปฏิบัติงานก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ลูกค้า หมายถึง รายได้หรือผลกำไรต่อธุรกิจแต่ถ้าลูกค้าไม่พึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจก็อาจประสบความล้มเหลวได้ดังนั้น พนักงานหรือลูกจ้างจึงเป็นสิ่งแวดล้อมภายในที่มีอิทธิพลต่อธุรกิจ

    4   วัฒนธรรมขององค์กร คือ ความเชื่อ ค่านิยม ที่สมาชิกในองค์กรธุรกิจถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันวัฒนธรรมขององค์กรจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพื่อ  ประโยชน์ในการวางแผน การบริหารงานต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากสมาชิก ผู้บริหารจะต้องสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้แก่องค์กรเพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติแล้วเกิดผลดีและดำรงอยู่กับธุรกิจต่อไป

1.8.2 สิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment)

         หมายถึง สิ่งที่มีอิทธิพลและมีผลกระทบต่อองค์กรที่เกิดจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่  รอบนอกธุรกิจ เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ประกอบด้วย ประชากร ปริมาณการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร เศรษฐกิจ การแข่งขัน การเมืองและกฎหมาย เทคโนโลยี วัฒนธรรมและสังคม เป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุม มีความเกี่ยวข้องกับคนในสังคมอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น ค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและนิสัยในการซื้อของผู้บริโภค

1.9  ปัจจัยของระบบธุรกิจ

       การดำเนินธุรกิจต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างรวมกัน จึงจะเกิดกิจกรรมในการประกอบธุรกิจ จะขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ได้  โดยทั่วไปปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจมี 4 ประการ (4M) ได้แก่

      1  คน (Man)  

ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดเพราะธุรกิจต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความคิดของคนมีคนเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้จัดการ จึงจะทำให้เกิดกิจกรรมทางธุรกิจหลายรูปแบบ ซึ่งในวงจรธุรกิจ มีคนหลายระดับหลายรูปแบบ ทั้งระดับผู้บริหาร ผู้ใช้แรงงานร่วมกัน

    2  เงิน (Money)

เงินทุนเป็นปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ ธุรกิจแต่ละประเภทจะใช้เงินลงทุนที่แตกต่างกันตามขนาดของธุรกิจ โดยผู้ประกอบธุรกิจจะต้องวางแผนการใช้เงินลงทุนอย่างคุ้มค่า เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด

    3  วัสดุหรือวัตถุดิบ (Material)  

ในการผลิตสินค้าต้องอาศัยวัตถุดิบในการผลิต ผู้บริหารจึงต้องรู้จักการบริหารวัตถุดิบ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ต้นทุนด้านวัตถุดิบต่ำสุด ส่งผลให้ธุรกิจมีผลกำไร

   4  วิธีปฏิบัติงาน (Method)

เป็นวิธีการในการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต้องมีการวางแผนและควบคุมเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ เกิดความคล่องตัวสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกกิจการ เป้าหมายในการจัดทำธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจ คือ ความต้องการให้ได้มาซึ่งผลกำไรมากที่สุด (Maximized Profits) ดังนั้น จะต้องมุ่งเน้นความสำคัญไปที่กลุ่มเป้าหมายว่า    เป็นใครผลิตสินค้าทำให้ผู้บริโภคพอใจ จะต้องคำนึงถึงว่าจะผลิตอย่างไร และต้องหาปัจจัยต่าง ๆ มาประกอบจึงจะทำการผลิตสินค้าหรือบริการได้ ในอดีตนักวิชาการได้กำหนดองค์ประกอบ 4 M’s ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 6 M’s หรืออาจมากกว่านี้ ได้แก่

    Money คือ เงินลงทุน ซึ่งแหล่งเงินทุนนั้นจะได้มาจาก 2 แหล่ง คือ จากเจ้าของและจากการกู้ยืม

    Manpower คือ แรงงานคนที่จะนำไปใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ

    Material คือ วัสดุ อุปกรณ์ วัตถุดิบ เครื่องมือ เครื่องจักรต่าง ๆ

    Management คือ การจัดการ การวางนโยบาย

    Marketing คือ การดำเนินการด้านการตลาดในการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมาให้กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

    Method คือ การกำหนดหลักเกณฑ์ หรือระเบียบ วิธีการต่าง ๆ ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ดีที่สุดให้มีประสิทธิภาพและธุรกิจจะได้ประสบผลสำเร็จ

คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้หลายด้าน ดังนี้

2.3.1  ด้านเอกสาร

          ปัจจุบันงานด้านเอกสารนิยมใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักในการทำงาน เนื่องจากการจัดเก็บเอกสารจะอยู่ในรูปของไฟล์ข้อมูล ตัวอักษรที่ใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์จะเป็นมาตรฐานอ่านงาน สามารถปรับปรุงและแก้ไขนำมาใช้งานได้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประหยัดเวลาและรวดเร็วต่อการทำงาน

2.3.2  ด้านการค้นหาข้อมูล

          ในด้านการค้นหาข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้ใช้สามารถจัดเก็บไฟล์ข้อมูลสามารถใช้ชุดคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นได้และคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงกับระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นแหล่งเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และเชื่อมโยงเกือบทุกมุมโลก มีการเพิ่มข้อมูลใหม่ ๆ ในทุกนาทีทำให้ข้อมูลมีความทันสมัย และเป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าหาความรู้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ

2.3.3  ด้านความบันเทิง

           ด้านความบันเทิงสามารถใช้โปรแกรมเครื่องคอมพิวเตอร์ในการปรับแต่งเพลง ใช้คอมพิวเตอร์สามารถสร้างความบันเทิงให้กับผู้ใช้งานหลายรูปแบบ เช่น การชมภาพยนตร์ ฟังเพลง เล่นเกม ร้องคาราโอเกะ เป็นต้น

2.3.4  ด้านงานเฉพาะด้าน  

           ด้านงานเฉพาะด้านนั้นปัจจุบันมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้งานเฉพาะด้านหลายประเภทโดยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านของงานนั้น ๆ เช่น ใช้ในการเขียนโปรแกรม การตัดต่อภาพยนตร์ การพัฒนาเว็บไซต์ ควบคุมระบบงาน เป็นต้น


ภาพที่  2.7  ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์