สมรรถนะงานที่ 4 งานเทคนิคและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

แนวการตอบ

คำถาม 1. หากพบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ทำงานตามปกติ จะมีวิธีวิเคราะห์และตรวจสอบหาสาเหตุปัญหาการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างไรบ้าง จงบอกและอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

วิธีวิเคราะห์และตรวจสอบหาสาเหตุปัญหาการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจทำโดย
1. สังเกตลักษณะและอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อหาสาเหตุของปัญหา มีจุดสังเกตหลัก ๆ 4 จุด คือ
1.1 เสียงเตือน (Beep Code) จากไบออสซึ่งจะได้ยินเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ สัญญาณเสียง ที่เกิดขึ้นเมื่อนำมาถอดรหัสจะทำให้ทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด โดยสัญญาณเสียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละยี่ห้อไบออสที่อยู่บนเมนบอร์ด ซึ่งมีจุดสังเกตที่ยี่ห้อไบออส และอื่น ๆ
1.2 ข้อความเตือนที่ปรากฏบนหน้าจอเวลาเปิดเครื่อง หรือ Error Message
1.3 หลอดไฟแสดงสถานะบนเมนบอร์ด บนเมนบอร์ดบางยี่ห้อจะมีหลอดไปแสดงสถานการณ์ทำงานบนเมนบอร์ด (Diagnostic LED) ติดมาด้วย เพื่อช่วยในการตรวจสอบและแสดงสถานะในตอนเปิดเครื่องว่าเครื่องมีปัญหาหรือไม่ อาจแสดงเป็นรหัสตำแหน่งของหลอดไป LED เขียว / แดง 4-5 ดวง หรือบอกเป็นตัวเลขฐาน 16 ก็ได้
1.4 สังเกตหลอดไฟ LED แสดงสถานะที่หน้าเครื่อง ซึ่งปกติมี 2 หลอด คือ หลอดไฟ LED สีเขียว หรือ Power LED และหลอดไฟ LED สีแดงหรือส้ม หรือ H.D.D. LED
หลอดไฟ LED สีเขียว ต่อมาจากขั้วต่อบนเมนบอร์ด ปกติหลอดไฟจะไม่ติด แต่หลังจากเปิดเครื่องแล้วหลอดไฟจะติดอยู่ตลอดเวลาเพื่อบอกให้รู้ว่าตอนนี้เครื่องกำลังทำงานอยู่ ดังนั้นถ้าเปิดเครื่องแล้วหลอดไฟดวงนี้ไม่ติดแสดงว่าไฟไม่เข้าเมนบอร์ด
หลอดไฟ LED สีแดงหรือส้ม ต่อมาจากขั้วต่อบนเมนบอร์ดเช่นกัน หลอดไฟนี้จะติดเมื่อฮาร์ดดิสก์ (ซีดีรอม) ทำงาน หรือมีการอ่านเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ แต่ถ้าฮาร์ดดิสก์ไม่ได้ทางานอยู่
หลอดไฟนี้จะดับ ถ้าไฟดวงนี้ติดค้างอยู่ตลอดเวลาก็แสดงว่ามีปัญหาในการทำงานของฮาร์ดดิสก์
2. วิเคราะห์จุดบกพร่อง คาดเดาสาเหตุ และตรวจสอบสาเหตุ
2.1 ปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) มักจะเกิดขึ้นจากตัวอุปกรณ์เองชำรุด หรือทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจชำรุดมาตั้งแต่โรงงานผู้ผลิต หรือเกิดจากตัวผู้ใช้เสียบอุปกรณ์ผิดหรือปรับแต่งอุปกรณ์ในการทำงานเกินขีดจากัด เป็นต้น เช่น
- ไม่มีภาพปรากฏที่หน้าจอและหลอดไฟแสดงผลที่หน้าจอเป็นสีส้ม สาเหตุอาจเกิดจากสายสัญญาณไม่ได้ต่อไว้หรือหลวมหรือการ์ดจอมีปัญหา ฯลฯ ตรวจสอบโดยลองต่อสายสัญญาณให้แน่น เป็นต้น
2.2 ปัญหาทางด้านซอฟต์แวร์ (Software) มักจะเกิดขึ้นจากตัวโปรแกรมทำงานผิดปกติซึ่งอาจจะเกิดปัญหาได้ทั้งตัวระบบปฏิบัติการ (OS) และโปรแกรมใช้งานทั่ว ๆ ไป เช่น
- เครื่องคอมพิวเตอร์ค้างขณะใช้งาน หรือบู๊ตเข้า WINDOWS ไม่ได้ อาจเกิดจากไฟล์ระบบเสียหรือสูญหายตัวโปรแกรมไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการสั่งถอดถอนโปรแกรมที่มีการแชร์ไฟล์ร่วมกับไฟล์ ที่สาคัญ ๆ บางตัวในระบบ หรือเผลอลบ หรือทำการแก้ไขค่าต่าง ๆ ใน Registry
- โปรแกรมที่ใช้งานไม่สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการที่ใช้อยู่ หรือถูกไวรัสเข้าไปทำลาย
2.3 ปัญหาทางด้านผู้ใช้งาน (Users) คือ ปัญหาที่มักจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ เช่น การ Overclock CPU และการลองผิดลองถูกต่าง ๆ