พระราชดํารัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540
“...ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้า ใส่เอง อย่างนั้นมันมากเกินไป แต่ในหมู่บ้านหรือในอําเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้แต่ในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่ง มากนัก ...มีเงินเดือนเท่าไหร่จะต้องใช้ภายในเงินเดือน...กู้เงินนั้น เงินจะต้องให้เกิดประโยชน์มิใช่กู้สําหรับ ไปเล่น ไปทําอะไรที่ไม่เกิดประโยชน์...”

              จากศาสตร์พระราชา สู่ผืนแผ่นดินที่แม่มอบให้ การใช้ชีวิตของเราตั้งแต่เด็กจนโต รอฟ้ารอฝน กลายเป็นเกษตรกรที่ยากจน เพราะรอแต่ฟ้าฝน ทุกคนรู้ว่า น้ำเป็นสิงสำคัญสำหรับการทำนา แต่แสงแดดกลับทำให้พื้นดินแตกระแหง ทั้ง ๆ ที่สองสิ่งคือสิ่งที่เกิดมาคู่กัน ดังนั้นเกษตรกรหลายคนจึงพลิกผืนแผ่นดินมรดกของบรรพบุรุษ สร้างคุณค่าให้กับผืนแผ่นดิน ตามรอยศาสตร์พระราชา ศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” หลักการทรงงาน ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 กษัตริย์นักพัฒนา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและมั่งคง


แหล่งน้ำคือสิ่งสำคัญที่ใช้หล่อเลี้ยงพืชพรรณไม้ ผลทางการเกษตรให้เจริญเติบโต แสงแดด คือพลังงานที่แสนมีคุณค่าต่อพืชพรรรณในการสังเคราะห์แสง ฤดูแล้งมาถึงภาคอีสานหน้าร้อน ร้อนจนผืนแผ่นดินแตกระแหง ทุกวันนี้ เรามีเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่สามารถพลิกพื้นแผ่นดินที่แห้งแล้งให้กลายเป็นแผ่นดินที่เขียวขจี ทุก ๆ พื้นพื้นของแผ่นดินสามารถสร้างความสุข มูลค่าให้กับตนเองและครอบครัว สร้างความสุข สร้างชีวิตที่ดีให้กับตนเองได้ 


ถ้าเรารู้จักใช้เทคโนโลยีที่มี ปรับแนวคิดเก่า ๆ ของเกษตรกร สร้างรายได้สร้างอาชีพ ให้กับพวกเขาได้ ผืนแผ่นดินของพวกเขาก็จะมีมูลค่าที่ดี ความสุขจะเกิดขึ้นกับประเทศของเรา อาชีพทุกอาชีพมีเกียรติ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเคารพตนเอง ซื่อสัตย์สุจริต ทำมาหากินด้วยความขยันอดทน ไม่คดโกงใคร แค่นี้เราก็สามารถสร้างเกียติให้กับตนเองได้ จงเชื่อและลงมือทำ ขอเป็นกำลังใจให้กับเกษตรกร อาชีพอู่ข้าวอู่น้ำของคนทั้งประเทศ ท่านไม่ได้ยากจนเหมือนในอดีต แต่ท่านเป็นคนที่มีทั้งความสุข สุขภาพแข็งแรง และเป็นอาชีพที่มีเกียรติ เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ 

ในความคิดแวบหนึ่งคนไทยนี่ช่างโชคดี ที่เจอปัญหาอะไร พระราชาของเราก็หาทางแก้ไขไว้ให้ มีคำถามว่า “คนไทยรู้จักศาสตร์ของพระราชาดีแค่ไหน และเคยนำไปปฏิบัติกันหรือยัง” มาเริ่มต้นที่ตัวเรา และต่อไปก็คนรอบข้าง แล้วขยายออกวงกลางไปสู่สังคมและประเทศชาติในที่สุด

มีคำถามหนึ่งว่า “ทำไมคนไทยรักพระราชาของเขาได้มากขนาดยอมตายแทนได้” คำตอบก็คือพระราชา ทรงห่วงใยประชาชนของพระองค์ และทำเพื่อบำบัดความทุกข์ทุกอย่างของประชาชนตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์ กว่า 70 ปี จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยที่ต้องศึกษาศาสตร์แห่งพระราชา และช่วยกันดำเนินการตามรอยพระบาท หรือ “การเดินตามรอยเท้าพ่อ” ที่ต้องศึกษาแนวทาง ที่พระองค์ท่านได้ทรงงานและวางแนวทางหาหนทางแก้ไขปัญหาของประชาชนไว้ ที่ทุกคนรู้จักกันในนาม “ศาสตร์พระราชา” หรือ “ศาสตร์แห่งพระราชา”

ในแง่แนวคิด ปรัชญา และการปฏิบัตินั้น “การรักพระราชาของเรา” นั้นก็คือการปฏิบัติบูชาตามคำสอน หากคนไทยทุกคน ช่วยกันทำ กันปฏิบัติ และขยายผลการปฏิบัติให้กว้างขวาง จะยิ่งเกิดผลดีในการปฏิบัติ “เชิงสัญลักษณ์” มากขึ้น ที่ปกติเหล่าบรรดาข้าราชการและพสกนิกรทั่วไปทุกคนก็ได้ทำกันอยู่แล้ว เช่น คำขวัญ สโลแกน ที่เขียนขึ้นป้าย ติดเสื้อ ติดรถ ต่าง ๆ อาทิ “เราเกิด ในรัชกาลที่ 9” ซึ่งเรียกรวมๆกันว่า “ปฏิบัติบูชา” ช่วยกันทำ สังคมก็จะดียิ่งขึ้น การเขียนให้ดูสวยดูดีดูเท่ห์ แต่ไม่ช่วยกันทำ ช่วยกันปฏิบัติ ก็จะไม่เรียกว่า “รักพระองค์ท่านอย่างแท้จริง