องค์ประกอบที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ประกอบด้วย 6 ส่วน  ดังนี้

          2.4.1  ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

                    ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนประกอบต่าง ๆ อยู่ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น  เมนบอร์ด ชิปซีพียู ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดร์ฟ์ การ์ดเสียง เป็นต้น

          2.4.2  ซอฟต์แวร์ (Software) 

                    ซอฟท์แวร์ หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการซึ่งเขียนขึ้นด้วยภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์พัฒนาขึ้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

            1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) หมายถึง โปรแกรมหรือคำสั่งหลัก   ที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูล ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น การทำงานของซีพียู การแสดงผลบนจอภาพ  การอ่านการบันทึกข้อมูล  เป็นต้น  เพื่อทำงานร่วมกับโปรแกรมต่าง ๆ

ภาพที่  2.8  ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)

                 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์  (Application Software)  เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาเพื่อช่วยงานในด้านต่าง ๆ  ตามความต้องการของผู้ใช้ถ้าโปรแกรมพัฒนาขึ้นเพื่อความต้องการเฉพาะขององค์กรใดองค์กรหนึ่งจะเรียกซอฟต์แวร์ประเภทนี้ว่า “ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน” ส่วนโปรแกรมที่พัฒนาเพื่อใช้งานทั่ว ๆ ไปเรียกว่า “โปรแกรมสำเร็จรูป” เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมตารางคำนวณ  โปรแกรมนำเสนอข้อมูล  โปรแกรมตกแต่งภาพ เป็นต้น

ภาพที่  2.9  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application  Software)

2.4.3.  ข้อมูลและสารสนเทศ (Data Information)

            ข้อมูลและสารสนเทศ (Data Information) หมายถึง ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมมานำมาเพื่อใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใดโปรแกรมหนึ่งประมวลผลโดยข้อมูลจะประกอบไปด้วยตัวเลข ข้อความ รูปภาพ หรือเสียง ดังนั้นสารสนเทศ คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์แล้ว เช่น ถ้าป้อนข้อมูลคะแนนสอบของนักศึกษา คนหนึ่งแล้วให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลหาคะแนนรวมหรือตัดเกรดของนักศึกษา ซึ่งเกรดหรือคะแนนรวมที่ได้ถือเป็นสารสนเทศ

ภาพที่  2.10  ระบบข้อมูลสารสนเทศ

2.4.4  ผู้ใช้งาน (User)

 ผู้ใช้งาน (User) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันถึงแม้หลายระบบจะมีการป้อนข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ แต่ยังต้องการให้มนุษย์เป็นผู้สั่งเสมอ

ภาพที่  2.11  ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer  System)

2.4.5  กระบวนการทำงาน (Proecss)

           กระบวนการทำงาน (Proecss) หมายถึง ขั้นตอนวิธีการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จากการประมวลผลข้อมูลบนระบบคอมพิวเตอร์

2.4.6  บุคลากรทางสารสนเทศ (Information Systems Personnel)

           บุคลากรทางสารสนเทศ (Information Systems Personnel) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ บุคลากรทางคอมพิวเตอร์มีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและภาระงานที่ได้รับมอบหมายขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ สามารถสรุปได้ดังนี้

           1)  เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ หมายถึง  ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์          ให้สามารถใช้งานได้อย่างเป็นปกติและมีประสิทธิภาพหาก เกิดปัญหาขัดข้องในการทำงานจะต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและดำเนินการแก้ไขในทันที

           2)  บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ และโปรแกรม ประกอบด้วย

           3)  นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ทำหน้าที่ศึกษาและรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ เพื่อนำมาวิเคราะห์และออกแบบระบบงานใหม่ และทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ระบบและนักเขียนโปรแกรม

           4)  ผู้บริหารฐานข้อมูล ทำหน้าที่ออกแบบและดูแลระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตลอดจนบำรุงรักษาและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ขององค์การ

          5)  นักพัฒนาโปรแกรมระบบ เป็นผู้เขียนโปรแกรมควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ ให้คำปรึกษาและแก้ไขระบบเมื่อเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์

          6)  นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ เป็นผู้เขียนและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ โดยการนำผลที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้ นักเขียนโปรแกรมประยุกต์จะต้องทำการทดสอบ แก้ไขโปรแกรม ติดตั้งและบำรุงรักษาโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น

          7)  ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ ผู้จัดการศูนย์คอมพิวเตอร์ เป็นบุคลากรระดับบริหาร 

          8) ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer User) เป็นผู้ให้ข้อมูลความต้องการในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานในหน่วยงานตลอดจนเป็นผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ได้พัฒนาขึ้น หรือใช้โปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ

โดยหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน ดังนี้

            1. การรับข้อมูลและคำสั่ง (Input) คอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าหรือเรียกอีกชื่อหนึ่ง “อุปกรณ์อินพุต” โดยผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลต่าง ๆ เช่น การพิมพ์ข้อความเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้แป้นพิมพ์ การบันทึกเสียงโดยผ่านไมโครโฟน เป็นต้น

           2. การประมวลผลหรือคิดคำนวณ (Central Processing Unit) CPU เรียกว่า “ชิป” (Chip) เป็นสมองของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คำนวณประมวลผลคำสั่ง และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งทำหน้าที่คล้าย ๆ กับสมองของมนุษย์ สำหรับซีพียูมีหลายยี่ห้อ เช่น Intel, AMD, Cyrix เป็นต้น

          3. การเก็บข้อมูล (Storage Device) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ ที่ได้จากการประมวลผลประกอบด้วย ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตส์ ซีดีรอม และช่วยในการบันทึกข้อมูลหรือเก็บข้อมูลจากหน่วยความจำ ซึ่งในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์เป็นการจัดเก็บข้อมูลชั่วคราวในขณะที่มีการประมวลผล

         4. นำเสนอผลลัพธ์ (Output Device) เป็นอุปกรณ์ที่นำเสนอผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ กล่าวคือ อยู่ในรูปแบบของข้อความตัวอักษร  ตัวเลข สัญลักษณ์หรือเสียง โดยผ่านอุปกรณ์แสดงผลต่าง ๆ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

           จากขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ทั้ง 4 ขั้นตอน  การทำงานทั้ง 4 ขั้นตอนดังกล่าว เรียกว่า “วงจรการทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์” (IPOS Cycle)

ภาพที่  2.12  ขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์

          คอมพิวเตอร์มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จากแบบตั้งโต๊ะที่ใช้งานโดยทั่วไปจนกระทั่งนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภทตามขนาดและความสามารถในการใช้งาน แบ่งได้ดังนี้

1. คอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เรียกว่า (Mainframe Computer) คือ คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในองค์กร เพื่อประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก  เครื่องเมนเฟรม นิยมนำมาใช้ในงานที่การรับและแสดงผลข้อมูลจำนวนมาก แต่มีการคำนวณประมวลผลน้อยกว่า หน่วยความเร็วของเครื่องเมนจะวัดความเร็วเป็นหน่วยเมกะฟลอป (Megaflop) คือการคำระบบคอมพิวเตอร์เมนเฟรมส่วนมากจะมีหน่วยคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ประกอบอยู่ด้วย เพื่อช่วยในการทำงานบางประเภทให้กับเครื่องหลัก

ภาพที่  2.13  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)

           2.6.2  คอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรขนาดเล็ก  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับบริหารหรือบริการข้อมูลในเครือข่ายองค์กร หรือที่เรียกว่า “เครื่องเซิร์ฟเวอร์” (Server) เช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web  Server) เมล์เซิร์ฟเวอร์ (Mail  Server) เป็นต้น

ภาพที่  2.14  เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server)

2.6.3  คอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้ทั่วไป 

         ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ที่มีไมโครโปรเซสเซอร์เป็นหน่วยประมวลผลมีขนาดเล็กสามารถพกพาเพื่อนำไปใช้งานนอกสถานที่ได้ใช้งานได้ทั้งในองค์กรและส่วนบุคคล ราคาถูกหาซื้อได้ง่ายเป็นที่นิยมของคนทั่วไป เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีหลายรูปแบบตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้

         1) คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป (Desktop Computer) เป็นเครื่องแบบตั้งโต๊ะที่มีใช้งานจำนวนมากที่สุด มีความสามารถสูง ราคาไม่สูงเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่น ๆ ที่สำคัญมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งทางด้านอุปกรณ์หรือโปรแกรมใช้งาน

 

ภาพที่  2.15  คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป  (Desktop Computer)

         2)  คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Notebook Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้ทำงานในที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบราคากับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่มีอุปกรณ์ใกล้เคียงกันจะพบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก จะมีราคาสูงกว่า

ภาพที่  2.16  คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Notebook  Computer)

        3) คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต (Tablet  PC) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลงสามารถพกพาไปในที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกจะป้อนข้อมูลด้วยลายมือของผู้ใช้ผ่านจอภาพและสั่งงานด้วยเสียงแทน แต่ประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับโปรแกรมสำเร็จรูป น้อยกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหรือเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 

ภาพที่  2.17  คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต (Tablet  PC)

      4)  คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Mobile Computer) บางครั้งเรียกว่า คอมพิวเตอร์มือถือมีขนาดเท่าฝ่ามือ เช่น เครื่องปาล์ม (Palm) และเครื่องพ็อกเก็ตพีซี (Pocket  PC) 

  

ภาพที่  2.18  เครื่องปาล์ม (Palm)

2.6.4  คอมพิวเตอร์เฉพาะทาง (Specialized  Computer)

         คอมพิวเตอร์เฉพาะทางเป็นคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์หรืองานเฉพาะทาง เช่น คอมพิวเตอร์คุมระบบไฟฟ้า เป็นต้น

 

รูปที่  2.19  คอมพิวเตอร์เฉพาะทาง (Specialized  Computer)

 

คุณสมบัติของอุปกรณ์พกพาคือมีขนาดเล็กกระทัดรัด สามารถพกพาไปไหนได้สะดวก เช่นเดียวกันกับการใส่ความสามารถทางด้านการเชื่อมต่อไร้สายหลากหลายประเภทเอาไว้ในตัว เพื่อตอบสนองการเข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ตที่กลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่หลายคนใช้เลือกพิจารณาซื้อ โดยอุปกรณ์พกพา มีดังนี้

        1  โน้ตบุ๊ก (Notebook)

        ปัจจุบันโน้ตบุ๊กในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊กที่แต่เดิมมีน้ำหนักหลายกิโลกรัม ปรับให้มีน้ำหนักเบา บาง  และหน้าจอมีคุณภาพ 

ภาพ โน้ตบุ๊ก (Notebook)

พ็อกเก็ตพีซี (Pocket PC)  

อุปกรณ์พ็อกเก็ตพีซี  มีความสามารถด้านการเชื่อมต่อไร้สายหลายแบบเช่นเดียวกับโน้ตบุ๊ก เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้กับผู้ใช้งาน มีหน้าจอสีที่ใหญ่ขึ้นความละเอียดมากขึ้นในระดับ VGA หรือหน้าจอที่แสดงผลในขนาด 640x480 พิเซล จึงทำให้การแสดงภาพบนหน้าจอมีความละเอียดสูงคมชัด และมีพื้นที่ในการแสดงผลมากขึ้น การประมวลผลของตัวเครื่องเร็วขึ้น ซีพียูสำหรับพ็อกเก็ตมีความสามารถมากขึ้น

ภาพ พ็อกเก็ตพีซี

โทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone)

           ปัจจุบันการอัพเกรดมือถือให้มีระบบปฏิบัติการหรือสมาร์ทโฟนมากขึ้น สามารถใช้ถ่ายภาพนิ่งและภาพวิดิโอได้ สามารถรองรับซอฟต์แวร์ด้านมัลติมีเดีย เช่น ซอฟต์แวร์ช่วยตัดต่อภาพวิดีโอ ใช้เปิดเอกสาร เป็นต้น และรองรับการดูหนังฟังเพลงเพราะมีช่องใส่การ์ดหน่วยความจำขยายขนาดได้

ภาพที่  2.24  โทรศัพท์มือถือ

2.8.4  เครื่องเล่นเอ็มพีสาม (MP3)

เครื่องเล่นเอ็มพีสาม คือ สินค้าในกลุ่มพกพาได้แบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม ด้วยรูปร่างที่ได้รับการออกแบบให้แปลกตา ในปี พ.ศ. 2548 มีขนาดของหน่วยความจำเพิ่มสูงขึ้นราคามีแนวโน้มจะลดลงเนื่องจากมีการแข่งขันทางการตลาดสูงขึ้น เครื่องเล่นเอ็มพีสามในกลุ่มที่ใช้ฮาร์ดดิสก์เป็นตัวบันทึกข้อมูลจะได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานมากขึ้น ทดแทนหน่วยความจำแบบแฟลชแบบเก่ามีขนาดความจุมากกว่า อาจจะมากถึงระดับ 60 กิกะไบต์หรือมากกว่านั้น


ภาพที่  2.25  เครื่องเล่น mp3

เครื่องเล่นเกมแบบพกพา (Portable Game Player)

เครื่องเล่นเกมเปลี่ยนรูปแบบในด้านของหน้าจอสีความละเอียดสูงตอบสนองการเล่นเกมได้ ออกแบบขนาดและรูปร่างสวยงาม ดูทันสมัยใช้งานได้นานยิ่งขึ้น และเพื่อตอบสนองการเล่นเกมออนไลน์ ยังให้ผู้เล่นเชื่อมต่อและเล่นเกมออนไลน์ได้ตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะการเชื่อมต่อผ่านจีพีอาร์เอส และ Wi-Fi หรือแม้แต่การเชื่อมต่อกับเพื่อนใกล้ ๆ ด้วยเทคโนโลยีบลูทูธ

ภาพที่  เครื่องเล่นเกมแบบพกพา

สื่อบันทึกข้อมูล (Media)

        เป็นสื่อบันทึกข้อมูลแบบแฟลช ซึ่งเข้ามาทดแทนการบันทึกข้อมูลด้วยแผ่นดิสเก็ต  ออกแบบให้มีลักษณะรูปแบบที่ทันสมัยและหลากหลายมากขึ้น  ขนาดของหน่วยความจำสูงขึ้นที่ผ่านมาจำกัดหน่วยความจำขนาด 512 เมกะไบต์ และสามารถขยายหน่วยความจำเพิ่มได้มากกว่าเป็นระดับกิกะไบต์

ภาพที่  สื่อบันทึกข้อมูล

แอร์การ์ด (Air Card)

แอร์การ์ด คือ การ์ดสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์  ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์พกพาสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ ที่มีเครือข่าย   จีพีอาร์เอสครอบคลุม สามารถเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย Wi-Fi 

ภาพที่  แอร์การ์ด (Air Card)

สมาร์ทโฟน (Smartphone)

         สมาร์ทโฟน คือ โทรศัพท์มือถือที่มีแอพพลิเคชั่นให้ใช้งานมาก สามารถรองรับการ     ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน 3G, 4G, Wi-Fi และสามารถใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์และแอพพลิเคชันสนทนา

ภาพที่  สมาร์ทโฟน (Smartphone)

2.8.9  แฟบเล็ต (Phablet)

แฟบเล็ต คือ อุปกรณ์สมาร์ทโฟนกึ่งแท็บเล็ตที่มีขนาดหน้าจออยู่ระหว่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต (5-7 นิ้ว) ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแต่ไม่สะดวกพกพาอุปกรณ์ทั้งสองชิ้นในเวลาเดียวกัน  นักวิจัยตลาดคาดว่าอุปกรณ์แฟบเล็ตจะกลายเป็นสินค้าที่น่าจับตามองในอนาคต โดยกระแสของแฟบเล็ตในปี 2011-2012 ถือว่าเริ่มต้น  ได้ดีและคาดว่าในอนาคตจะมีอุปกรณ์แฟบเล็ตเข้าสู่ตลาดเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคมากขึ้น

ภาพ  แฟบเล็ต (Phablet)

แท็บเล็ต  (Tablet)

แท็บเล็ต คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีหน้าจอระบบสัมผัสขนาดใหญ่มีขนาดหน้าจอตั้งแต่  7  นิ้วขึ้นไปพกพา ได้สะดวกสามารถใช้งานหน้าจอผ่านการสัมผัสผ่านปลายนิ้วได้โดยตรง ข้อดีของแท็บเล็ตคือมีหน้าจอที่กว้าง ทำให้มีพื้นที่การใช้งานมาก มีน้ำหนักเบา พกพาได้สะดวกว่าโน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์ สามารถจดบันทึกหรือใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อการศึกษาได้เป็นอย่างดี

ภาพ แท็บเล็ต (Tablet)

การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานทางด้านการแพทย์ เช่น การค้นหาประวัติคนไข้ การวินิจฉัยโรค การเอ็กซเรย์ การชำระเงินค่ารักษา