คอมพิวเตอร์มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จากแบบตั้งโต๊ะที่ใช้งานโดยทั่วไปจนกระทั่งนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภทตามขนาดและความสามารถในการใช้งาน แบ่งได้ดังนี้

1. คอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เรียกว่า (Mainframe Computer) คือ คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในองค์กร เพื่อประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก  เครื่องเมนเฟรม นิยมนำมาใช้ในงานที่การรับและแสดงผลข้อมูลจำนวนมาก แต่มีการคำนวณประมวลผลน้อยกว่า หน่วยความเร็วของเครื่องเมนจะวัดความเร็วเป็นหน่วยเมกะฟลอป (Megaflop) คือการคำระบบคอมพิวเตอร์เมนเฟรมส่วนมากจะมีหน่วยคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ประกอบอยู่ด้วย เพื่อช่วยในการทำงานบางประเภทให้กับเครื่องหลัก

ภาพที่  2.13  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)

           2.6.2  คอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรขนาดเล็ก  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับบริหารหรือบริการข้อมูลในเครือข่ายองค์กร หรือที่เรียกว่า “เครื่องเซิร์ฟเวอร์” (Server) เช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web  Server) เมล์เซิร์ฟเวอร์ (Mail  Server) เป็นต้น

ภาพที่  2.14  เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server)

2.6.3  คอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้ทั่วไป 

         ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ที่มีไมโครโปรเซสเซอร์เป็นหน่วยประมวลผลมีขนาดเล็กสามารถพกพาเพื่อนำไปใช้งานนอกสถานที่ได้ใช้งานได้ทั้งในองค์กรและส่วนบุคคล ราคาถูกหาซื้อได้ง่ายเป็นที่นิยมของคนทั่วไป เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีหลายรูปแบบตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้

         1) คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป (Desktop Computer) เป็นเครื่องแบบตั้งโต๊ะที่มีใช้งานจำนวนมากที่สุด มีความสามารถสูง ราคาไม่สูงเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่น ๆ ที่สำคัญมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งทางด้านอุปกรณ์หรือโปรแกรมใช้งาน

 

ภาพที่  2.15  คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป  (Desktop Computer)

         2)  คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Notebook Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้ทำงานในที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบราคากับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่มีอุปกรณ์ใกล้เคียงกันจะพบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก จะมีราคาสูงกว่า

ภาพที่  2.16  คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Notebook  Computer)

        3) คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต (Tablet  PC) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลงสามารถพกพาไปในที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกจะป้อนข้อมูลด้วยลายมือของผู้ใช้ผ่านจอภาพและสั่งงานด้วยเสียงแทน แต่ประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับโปรแกรมสำเร็จรูป น้อยกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหรือเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 

ภาพที่  2.17  คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต (Tablet  PC)

      4)  คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Mobile Computer) บางครั้งเรียกว่า คอมพิวเตอร์มือถือมีขนาดเท่าฝ่ามือ เช่น เครื่องปาล์ม (Palm) และเครื่องพ็อกเก็ตพีซี (Pocket  PC) 

  

ภาพที่  2.18  เครื่องปาล์ม (Palm)

2.6.4  คอมพิวเตอร์เฉพาะทาง (Specialized  Computer)

         คอมพิวเตอร์เฉพาะทางเป็นคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์หรืองานเฉพาะทาง เช่น คอมพิวเตอร์คุมระบบไฟฟ้า เป็นต้น

 

รูปที่  2.19  คอมพิวเตอร์เฉพาะทาง (Specialized  Computer)