องค์ประกอบที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้
2.4.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนประกอบต่าง ๆ อยู่ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เมนบอร์ด ชิปซีพียู ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดร์ฟ์ การ์ดเสียง เป็นต้น
2.4.2 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟท์แวร์ หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการซึ่งเขียนขึ้นด้วยภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์พัฒนาขึ้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) หมายถึง โปรแกรมหรือคำสั่งหลัก ที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูล ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น การทำงานของซีพียู การแสดงผลบนจอภาพ การอ่านการบันทึกข้อมูล เป็นต้น เพื่อทำงานร่วมกับโปรแกรมต่าง ๆ
ภาพที่ 2.8 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาเพื่อช่วยงานในด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ถ้าโปรแกรมพัฒนาขึ้นเพื่อความต้องการเฉพาะขององค์กรใดองค์กรหนึ่งจะเรียกซอฟต์แวร์ประเภทนี้ว่า “ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน” ส่วนโปรแกรมที่พัฒนาเพื่อใช้งานทั่ว ๆ ไปเรียกว่า “โปรแกรมสำเร็จรูป” เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมตารางคำนวณ โปรแกรมนำเสนอข้อมูล โปรแกรมตกแต่งภาพ เป็นต้น
ภาพที่ 2.9 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
2.4.3. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data Information)
ข้อมูลและสารสนเทศ (Data Information) หมายถึง ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมมานำมาเพื่อใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใดโปรแกรมหนึ่งประมวลผลโดยข้อมูลจะประกอบไปด้วยตัวเลข ข้อความ รูปภาพ หรือเสียง ดังนั้นสารสนเทศ คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์แล้ว เช่น ถ้าป้อนข้อมูลคะแนนสอบของนักศึกษา คนหนึ่งแล้วให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลหาคะแนนรวมหรือตัดเกรดของนักศึกษา ซึ่งเกรดหรือคะแนนรวมที่ได้ถือเป็นสารสนเทศ
ภาพที่ 2.10 ระบบข้อมูลสารสนเทศ
2.4.4 ผู้ใช้งาน (User)
ผู้ใช้งาน (User) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันถึงแม้หลายระบบจะมีการป้อนข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ แต่ยังต้องการให้มนุษย์เป็นผู้สั่งเสมอ
ภาพที่ 2.11 ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)
2.4.5 กระบวนการทำงาน (Proecss)
กระบวนการทำงาน (Proecss) หมายถึง ขั้นตอนวิธีการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จากการประมวลผลข้อมูลบนระบบคอมพิวเตอร์
2.4.6 บุคลากรทางสารสนเทศ (Information Systems Personnel)
บุคลากรทางสารสนเทศ (Information Systems Personnel) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ บุคลากรทางคอมพิวเตอร์มีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและภาระงานที่ได้รับมอบหมายขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ สามารถสรุปได้ดังนี้
1) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถใช้งานได้อย่างเป็นปกติและมีประสิทธิภาพหาก เกิดปัญหาขัดข้องในการทำงานจะต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและดำเนินการแก้ไขในทันที
2) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ และโปรแกรม ประกอบด้วย
3) นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ทำหน้าที่ศึกษาและรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ เพื่อนำมาวิเคราะห์และออกแบบระบบงานใหม่ และทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ระบบและนักเขียนโปรแกรม
4) ผู้บริหารฐานข้อมูล ทำหน้าที่ออกแบบและดูแลระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตลอดจนบำรุงรักษาและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ขององค์การ
5) นักพัฒนาโปรแกรมระบบ เป็นผู้เขียนโปรแกรมควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ ให้คำปรึกษาและแก้ไขระบบเมื่อเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์
6) นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ เป็นผู้เขียนและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ โดยการนำผลที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้ นักเขียนโปรแกรมประยุกต์จะต้องทำการทดสอบ แก้ไขโปรแกรม ติดตั้งและบำรุงรักษาโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น
7) ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ ผู้จัดการศูนย์คอมพิวเตอร์ เป็นบุคลากรระดับบริหาร
8) ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer User) เป็นผู้ให้ข้อมูลความต้องการในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานในหน่วยงานตลอดจนเป็นผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ได้พัฒนาขึ้น หรือใช้โปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ