พิมพ์

 

1.1.1  ความหมายของภาพเคลื่อนไหว    

               ภาพเคลื่อนไหว หมายถึง  ภาพที่สร้างขึ้นโดยการนำภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพมาฉายต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง ทำให้เกิดภาพลวงตาของการเคลื่อนไหวปกติความเร็วของภาพเคลื่อนไหวจะฉายด้วยความเร็วที่ต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของการแสดงผล (Output) ถ้าฉายเป็นภาพยนตร์จะฉายด้วยความเร็ว 24 เฟรมต่อวินาที ถ้าถ่ายทอดในระบบ PAL จะฉายด้วยความเร็ว 25 เฟรมต่อวินาที แต่ในระบบ NTSC จะฉายด้วยความเร็ว 29.97 หรือ 30 เฟรมต่อวินาที  สามารถนำภาพเคลื่อนไหวประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น งานนำเสนอ ภาพยนตร์  โทรทัศน์ เกมส์  สถาปัตย์ สื่อการเรียนการสอน งานก่อสร้าง งานด้านวิทยาศาสตร์  หรืองานพัฒนาเว็บไซต์ เป็นต้น ซึ่งการนำเสนอโดยใช้ภาพเคลื่อนไหวทำให้จากเรื่องราวที่อธิบายยากกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นทำให้เกิดการจินตนาการอย่างไร้ขอบเขต ไม่มีการปิดกั้นทางความคิด สามารถใช้ความคิดได้อย่างอิสระเสรี เน้นให้ส่วนสำคัญเกิดความกระจ่างและชัดเจนขึ้น เป็นการใช้ภาพอธิบายได้ดี ช่วยทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมกลายเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจนและดีขึ้น

1.1.2   หลักการเกิดภาพเคลื่อนไหว

                  การที่มนุษย์มองเห็นภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพที่ฉายต่อเนื่องกัน ดูเป็นลักษณะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ สามารถอธิบายด้วยหลักการเห็นภาพติดตา (Persistence of vision) ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการเกิดภาพเคลื่อนไหว หรือ แอนิเมชั่น (Animation) คือ ภาพนิ่งแต่ละภาพที่ฉายต่อเนื่องกันอย่างมีระบบ มีที่มาตั้งแต่ของเล่นที่ชื่อว่า ภาพหมุน (Thaumatrope) โดยภาพเคลื่อนไหว คือ การแปลงของวัตถุ โดยมีความสัมพันธ์กับเวลา เช่น ภาพยนตร์ การ์ตูนที่มีการเคลื่อนที่ แสดงกิริยาอาการ การยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ เดิน วิ่ง คลาน ในโปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่จะมีลักษณะการเคลื่อนที่หลัก ๆ อยู่ 2 ลักษณะ คือ