พิมพ์

การบริหารจัดการชั้นเรียนหมายถึงอะไร   
 

    

            การบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศในชั้นเรียนให้ส่งเสริมและเอื้อต่อการเรียนรู้ กระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา อบรมบ่มนิสัย ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการอบรม เกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดีงาม ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สร้างแรงบันดาลใจ และเสริมแรงให้ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการอบรมมีความมั่นใจในการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ มีความปลอดภัยและมีความสุข

Key word ในการการบริหารจัดการชั้นเรียน

คำถาม  จุดประสงค์สำคัญที่สุดของการบริหารจัดการชั้นเรียนตรงกับข้อใด

  ก. พัฒนาผู้เรียนทุกด้าน

  ข.ส่งเสริมการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน

  ค.พัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน

  ง.สร้างบรรยากาศการจัดการเรียนการสอน

คำถาม  การบริหารจัดการชั้นเรียนมีความหมายตรงกับข้อใด

   ก. การจัดสภาพแวดล้อม การสร้างบรรยากาศ การสอน การฝึกวินัย การสอบ

   ข. การจัดสภาพแวดล้อม การสร้างบรรยากาศในการสอน

   ค. การสอนของครู

   ง. การจัดสภาพแวดล้อม การสร้างบรรยากาศ การสอน และการฝึกวินัย

ติวข้อสอบ PLC

“การบริหารจัดการชั้นเรียนด้วยกระบวนการ PLC สำหรับครูอาชีวศึกษา ระดับพื้นฐาน”

การบริหารจัดการชั้นเรียนหมายถึงอะไร

         การบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศในชั้นเรียนให้ส่งเสริมและเอื้อต่อการเรียนรู้ กระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา อบรมบ่มนิสัย ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการอบรม เกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดีงาม ปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สร้างแรงบันดาลใจ และเสริมแรงให้ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการอบรมมีความมั่นใจในการพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ มีความปลอดภัยและมีความสุข

Key word ในการการบริหารจัดการชั้นเรียน

คำถาม  จุดประสงค์สำคัญที่สุดของการบริหารจัดการชั้นเรียนตรงกับข้อใด

คำถาม  การบริหารจัดการชั้นเรียนมีความหมายตรงกับข้อใด

 ความสำคัญของการบริหารจัดการชั้นเรียน

  1. ช่วยให้ผู้เรียน เกิดความอบอุ่นในขณะอยู่ในชั้นเรียนและมีความสุขในขณะที่มีการเรียนการสอน
  2. ช่วยส่งเสริมสนับสนุนบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในเวลาเรียนปกติและนอกเวลาเรียน
  3. ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันตามธรรมชาติของรายวิชานั้น
  4. ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้ตระหนักในเรื่องของวินัยในชั้นเรียน
  5. ช่วยป้องกันสิ่งรบกวนที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอก ที่มีต่อการเรียนการสอนและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียน

 เป้าหมายการบริหารจัดการชั้นเรียน 

  1. เพื่อช่วยรักษาสภาพแวดล้อมในการเรียนให้เป็นไปในทางบวก
  2. เพื่อให้มีเวลาในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น โดยครูจัดการสอนอย่างมีลำดับขั้นตอน อย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมที่มีความหมายเหมาะสมคุ้มค่า

ชั้นเรียนในอาชีวศึกษาในศตวรรษที่ 21

   มีแนวคิดมาจาก

   แผนการจัดการศึกษาแห่งชาติ 2560

         คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21

  Thailand 4.0

  ประกอบด้วย ประเทศไทยยุคที่ 1.0 สังคมเกษตรกรรม

                   ประเทศไทยยุคที่ 2.0 สังคมอุตสาหกรรมเบา

                   ประเทศไทยยุคที่ 3.0 สังคมอุตสาหกรรมหนัก

                   ประเทศไทยยุคที่ 4.0 เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

  ทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21

  1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ประกอบด้วย

คิดสร้างสรรค์ ใส่ใจนวัตกรรม มีวิจารณญาณ  แก้ปัญหาเป็น สื่อสารดี เต็มใจร่วมมือ

  1. ทักษะสารสนเทศสื่อสารและเทคโนโลยี ประกอบด้วย

อัพเดตทุกข้อมูลข่าวสาร      รู้เท่าทันสื่อ  รอบรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ฉลาดสื่อสาร

  1. ทักษะชีวิตและอาชีพ  ประกอบด้วย

มีความยืดหยุ่น รู้จักปรับตัว ริเริ่มสิ่งใหม่ ใส่ใจดูแลตัวเอง รู้จักเข้าสังคม เรียนรู้วัฒนธรรม มีความเป็นผู้นำ รับผิดชอบหน้าที่ พัฒนาอาชีพ หมั่นหาความรู้รอบด้าน

สรุปทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3R 8C

ทักษะ 3R ได้แก่

Reading สามารถอ่านออก

wRiting สามารถเขียนได้

ARithmentic มีทักษะในการคำนวณ

ทักษะ 8C ได้แก่

Critical thinking and problem solving  มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และสามารถแก้ไขปัญหาได้

Creativity and innovation การคิดอย่างสร้างสรรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม

Communication information and media literacy มีทักษะในการสื่อและรู้เท่าทันสื่อ

Computing and IT literacy มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี

Cross-cultural understanding มีความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและกระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม

Collaboration teamwork and leadership ความร่วมมือการทำงานเป็นทีม และภาวะความเป็นผู้นำ

Career and learning skills มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้

Compassing มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย

 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2556 มี 3 ด้าน ดังนี้

ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์

             คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ พฤติกรรม ลักษณะนิสัย และทักษะทางปัญญา

ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป

              ความรู้และทักษะการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารนเทศการพัฒนาการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน การทำงานร่วมกับผู้อื่น การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การประยุกต์ใช้ตัวเลข การจัดการและการพัฒนางาน

ด้านสมรรถนะวิชาชีพ

              ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาชีพสู่การปฎิบัติจริง รวมทั้งประยุกต์สู่อาชีพ

แนวคิดในการบริหารจัดการชั้นเรียน

การจัดสภาพแวดล้อม

   สภาพแวดล้อมในห้องเรียนและสภาพแวดล้อมนอกห้องเรียน

ห้องเรียนที่ดีควรเป็นอย่างไร

  1. ชั้นเรียนที่ดี ควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
  2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนและกิจกรรมประเภทต่าง ๆ
  3. มีสื่อ อุปกรณ์การเรียน การสอน การฝึกปฏิบัติ ที่เพียงพอ
  4. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสระ เสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง

บรรยากาศในชั้นเรียน

ประกอบด้วย บรรยากาศทางกายภาพ บรรยากาศทางจิตวิทยา และบรรยากาศทางสังคม

    บรรยากาศทางกายภาพ เป็นลักษณะของบรรยากาศที่เกิดจากการจัดอาคารสถานที่ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ ที่สอดคล้องกับกิจกรรม การเรียนรู้ และสภาพของผู้เรียน

การส่งเสริมบรรยากาศทางกายภาพ คือ การจัดสถานที่ ที่อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ  จัดสื่อ วัสดุอุปกรร์ที่สอดคล้องกับกิจกรรม จัดแหล่งความรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรม และความสนใจของผู้เรียน

    บรรยากาศทางจิตวิทยา เป็นลักษณะของบรรยากาศที่เกิดขึ้นโดยการกระทำของผู้เรียนที่ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้เรียน

    สร้างบรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) ครูกระตุ้นและสนับสนุนให้อยากรู้ อยากเห็น อยากแสวงหาคำตอบทำให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ ภาคภูมิใจ

การส่งเสริมบรรยากาศทางจิตวิทยา

- สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ปลอดภัย เป็นมิตร ( Warmth) ครูจะเป็นผู้ช่วยเหลือในการเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนกล้าตัดสินใจลองทำ

- สร้างบรรยากาศที่เป็นอิสระ (Freedom) ครูเป็นผู้ให้คำปรึกษา ทำให้ผู้เรียนเลือกสิ่งที่จะเรียนรู้ ใช้วิธีการเรียนรู้และเวลาในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันโดยเคารพสิทธิของผู้อื่น

- สร้างบรรยากาศแห่งการยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน (Respect) โดยครูยอมรับความคิดเห็นของผู้เรียนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ให้เรียนเป็นกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม

- สร้างบรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) โดยฝึกให้มีระเบียบวินัย ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียน ฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิของตนเองอย่างมีขอบเขต

- สร้างบรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) โดยให้เด็กกำหนดจุดมุ่งหมายในการทำงาน วางแผนการทำงาน ลงมือปฏิบัติตามแผนและสรุปผลการทำงาน ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างเป็นกัลยาณมิตร ชื่นชมในความสำเร็จ และเป็นกำลังใจเมื่อเป็นไปตามคาดหวัง รวมทั้งเสนอแนะวิธีอื่นให้ลองปฏิบัติ

- สร้างบรรยากาศแห่งความใกล้ชิด สนิทสนม รักใครกลมเกลียว โดยให้ผู้เรียนได้เล่น ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน รู้จักให้อภัย ช่วยเหลือกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา รวมทั้งครูต้องเอาใจใส่ผู้เรียน ยอมรับผู้เรียนอย่างจริงใจ ทั้งการแสดงออกด้านคำพูด แววตา กิริยาท่าทาง

บรรยากาศทางสังคม เป็นบรรยากาศที่เกิดจาก การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่อยู่ร่วมกัน การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกรักที่จะเรียนรู้และเกิดการเรียนรู้ได้โดยง่าย การเรียนรู้ดังกล่าว ได้แก่ การเรียนรู้ด้านความรู้ การเรียนรู้ทางสังคม

การส่งเสริมบรรยากาศทางสังคม

    คือ การสร้างบรรยากาศทางประชาธิปไตย ฝึกการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม สร้างบรรยากาศแห่งการร่วมมือร่วมใจ จัดการเรียนการสอนที่เน้นปฏิสัมพันธ์ สร้างบรรยากาศแห่งการมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูและผู้เรียน

การสร้างบรรยากาศที่ไม่กดดันผู้เรียน

บรรยากาศห้องเรียนที่ดี

  1. มีความยืดหยุ่นเป็นกัลยาณมิตร
  2. ไม่ตึงเครียด
  3. นักเรียนรู้สึกอิสระและมีความสุขในการเรียนรู้
  4. มีการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

 

คำถาม : ครูที่หมั่นสร้างสัมพันธภาพกับสมาชิกในห้องเรียนตรงกับการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนแบบใด

  1. บรรยากาศทางสังคม
  2. บรรยากาศประชาธิปไตย
  3. บรรยากาศที่มีอิสระ
  4. บรรยากาศแห่งการยอมรับนับถือ

คำถาม ครูสมชายให้คำแนะนำนักเรียนอย่างเป็นกันเองในการจัดทำโครงงานจัดเป็นบรรยากาศแบบใด

  1. บรรยากาศที่ท้าทาย
  2. บรรยากาศที่อบอุ่น
  3. บรรยากาศที่เป็นอิสระ
  4. บรรยากาศแห่งการยอมรับนับถือ

คำถาม  บรรยากาศในชั้นเรียนตรงกับข้อใด

  1. บรรยากาศทางกายภาพ บรรยากาศทางจิตวิทยา บรรยากาศทางสังคม บรรยากาศทางพฤติกรรม
  2. บรรยากาศทางกายภาพ บรรยากาศทางจิตวิทยา บรรยากาศทางสังคม
  3. บรรยากาศทางกายภาพ บรรยากาศทางพฤติกรรม บรรยากาศทางสังคม
  4. บรรยากาศทางจิตวิทยา บรรยากาศทางสังคม บรรยากาศทางพฤติกรรม

คำถาม ข้อใดคือสิ่งที่สำคัญในการจัดสภาพแวดล้อม

  1. ให้ผู้เรียนมีสื่อในการปฏิบัติการความปลอดภัย
  2. ให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข
  3. ให้ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองได้
  4. ให้ผู้เรียนได้ทำงานเป็นกลุ่ม

คำถาม ข้อใดคือสิ่งที่ครูควรพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะชีวิตและการทำงาน

  1. ความคิดสร้างสรรค์
  2. การเป็นผู้ประกอบการ
  3. การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม
  4. สิทธิหน้าที่พลเมือง

คำถาม ครูกระตู้ให้ผู้เรียนลองผิดลองถูกจากการเรียนการฝึกทักษะจนสามารถจนสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องเป็นการสอนทักษะด้านใด

  1. ขั้นการเตรียมความพร้อมปรับตัวให้พร้อมเพื่อการทำงาน
  2. ขั้นการกระทำอย่างชำนาญ
  3. ขั้นการลงมือกระทำจนกลายเป็นกลไกที่สามารถกระทำได้เอง
  4. ขั้นการสนองตอบภายใต้การควบคุมให้ตอบสนองต่อสิ่งที่รับรู้

คำถาม ข้อใดเป็นลักษณะของบรรยากาศในชั้นเรียนทางกายภาพ

  1. บรรยากาศที่ท้าทายโดยครูกระตุ้นและสนับสนุนให้ผู้เรียนสร้างบรรยากาศอยากรู้อยากเห็น
  2. สิ่งที่เกิดจากการปฏิบัติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  3. การจัดอาคารสถานที่ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
  4. การกระทำของผู้เรียนที่ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้เรียน

คำถาม การสร้างบรรยากาศทางสังคมในชั้นเรียนสำหรับผู้เรียนระดับอาชีวะที่ดีควรเป็นอย่างไร

  1. ลดกิจกรรมการแข่งขันของสมาชิกในห้องเรียนตลอดเวลา
  2. มีกิจกรรมให้สมาชิกในห้องเรียนมีการแข่งทักษะตลอดเลา
  3. ประเมินการเรียนรู้ การประเมินผลด้านผลสัมฤทธิ์
  4. สร้างบรรยากาศแห่งการมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูและสมาชิกในห้อง

คำถาม ข้อใดไม่ใช่ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21

  1. การคิดสร้างสรรค์
  2. การมีวิจารณญาณ
  3. การรู้เท่าทันสื่อ
  4. การแก้ปัญหาเป็น สื่อสารดี

คำถาม การบริหารจัดการชั้นเรียนข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด

  1. ช่วยให้ครูควบคุมพฤติกรรมของผู้เรียนในชั้นเรียน
  2. ช่วยให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญการรักษาวินัยในชั้นเรียน
  3. ช่วยให้ไม่มีสิ่งรบกวนการสอนและการทำกิจกรรมของผู้เรียน
  4. ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งในเวลาเรียนปกติและนอกเวลาเรียน

คำถาม ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ค้นคว้า ลองทำในสิ่งที่ผู้เรียนสนใจตรงกับการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนแบบใด

  1. บรรยากาศที่มีความอบอุ่น
  2. บรรยากาศที่มีอิสระ
  3. บรรยากาศแห่งการยอมรับนับถือ
  4. บรรยากาศที่ท้าทาย

คำถาม การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ดีควรเป็นอย่างไร

  1. ผู้เรียนและผู้สอนมีปฎิสัมพันธ์กันตามธรรมชาติรายวิชา
  2. ผู้เรียนได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
  3. ผู้เรียนและผู้สอนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
  4. ผู้เรียนมีความสุขในขณะที่มีการเรียนการสอน

คำถามเป้าหมายของการบริหารจัดการชั้นเรียนคือข้อใด

  1. รักษาสภาพแวดล้อมในการเรียนให้เป็นไปในทางบวก
  2. ให้ผู้เรียนได้มีเวลาในการเรียนรู้ได้มากขึ้น
  3. การร่วมมือ รวมพลัง ร่วมใจ ร่วมทำของครู
  4. ทั้งข้อ ก.และข้อ ข. ถูก

คำถาม ข้อใดไม่ใช่ทักษะ 3R ของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

  1. rAthmetic มีทักษะในการคำนวณ
  2. cReativity การคิดอย่างสร้างสรรค์
  3. wRiting สามารถเขียนได้
  4. reading สามารถอ่านได้

คำถาม ครูเป็นผู้สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ปลอดภัย เป็นมิตรคอยช่วยเหลือให้การเสริมแรงทำให้ผู้เรียนกล้าตัดสินใจควรกับการส่งเสริมบรรยากาศในชั้นเรียนแบบใด

คำถาม การส่งเสริมบรรยากาศในชั้นเรียนด้านใดส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระดับอาชีวะ

  1. ด้านกายภาพ
  2. ด้านพฤติกรรม
  3. ด้านสังคม
  4. ด้านจิตใจ

คำถาม ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน

  1. นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข
  2. สื่ออุปกรณ์ การเรียนการสอนพอเพียง
  3. อากาศถ่ายเทได้ดี
  4. มุ่งเน้นวิชาการโดยไม่มีการสอดแทรกกิจกรรม

คำถาม ครูจะเป็นผู้ช่วยเหลือให้การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนกล้าตัดสินใจ ลองทำตรงกับการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนแบบใด

  1. Success
  2. Freedom
  3. Challenge
  4. Warmth

คำถาม ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21

  1. แผนการศึกษาแห่งชาติ
  2. ทักษะในศัตวรรษที่ 21
  3. นโยบายไทยแลนด์ 0
  4. นโยบายการบริหารงานของผู้บริหารวิทยาลัย

คำถาม ข้อใดกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการชั้นเรียนถูกต้องที่สุด

  1. เพื่อจัดสภาพห้องเรียน
  2. เพื่ออบรมผู้เรียน
  3. เพื่อพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน
  4. เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมผู้เรียน

คำถาม บรรยากาศชั้นเรียนที่ดีควรเป็นอย่างไร

  1. มีความยืดหยุ่น
  2. มีการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
  3. มีกัลยาณมิตรไม่ตึงเครียด
  4. มีการแข่งขันตลอดเวลา

คำถาม การจัดบรรยากาศเพื่อพัฒนาผู้เรียนระดับอาชีวศึกษาที่เหมาะสมตรงกับข้อใด

  1. สร้างสภาพแวดล้อมบรรยากาศให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
  2. ประเมินและวัดผลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้
  3. ควบคุม และกำหนดบทลงโทษเพื่อสร้างวินัยปลอดภัยและมีความสุข
  4. จัดระบบระเบียบและนำกิจกรรมของผู้เรียนอย่างเคร่งครัด
  1. ข้อ 1-2 เหมาะสม
  2. ข้อ 1-2-3 เหมาะสม
  3. ข้อ 1-2-3-4 เหมาะสม
  4. ไม่มีข้อใดเหมาะสม

คำถาม การบริหารจัดการชั้นเรียนมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนอย่างไร

  1. การบริหารจัดการชั้นเรียนเป็นความท้าทายของการเป็นครูมืออาชีพ
  2. การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพ
  3. การบริหารจัดการชั้นเรียนสามารถแยกกับหน้าที่การจัดการเรียนการสอน
  4. ครูสามารถใช้เวลาในเวลาได้อย่างเต็มที่